เนื้อหาหลักสูตรได้ถูกออกแบบสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การติดตั้งระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ การตั้งค่าระบบต่างๆ ที่จำเป็น การเรียนรู้และใช้งานเกี่ยวกับ Command Line ที่สำคัญ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการระบบ และ ความรู้เกี่ยวกับระบบจัดเก็บไฟล์ของระบบปฏิบัติการ Linux ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาและใช้งานระบบปฏิบัติการ Linux ทุกคนต้องทราบ จนกระทั่งสามารถดูแลและบริหาร Users ภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยในหลักสูตรจะใช้ CentOS 8 ในการฝึกอบรม
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ไม่มีความรู้ และพื้นฐานเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Linux มาก่อนเลย
ผู้ที่ต้องการทำงานในสายงานด้าน System Admin โดยใช้เซิร์ฟเว่อร์ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
ผู้ที่ต้องการปูพื้นฐานความรู้เพื่อเตรียมตัวสอบรับใบประกาศ RHCSA & RHCE
เป้าหมายของหลักสูตร
สำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตร Linux System & Network Administration จะสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การจัดแบ่งพาร์ติชั่น และ การเลือกแพ็คเกจในขณะติดตั้ง รวมถึงสามารถทำการตรวจสอบ ติดตั้ง อัพเด็ท และ ลบ แพ็คเกจภายในเครื่องได้อย่างชำนาญ นอกจากนั้นผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้จะเข้าใจการใช้ Command Line และ การแก้ไขไฟล์คอนฟิกต่างๆ ผ่านเครื่องมือ VI Editor ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสามัญประจำตัวแอดมินในระบบยูนิกซ์และลีนุกซ์มาอย่างยาวนาน
คุณลูกค้าสามารถคลิกดูรายละเอียด ราคาโปรโมชั่นส่วนลดพิเศษ
ทำการลงทะเบียน และ ชำระเงินผ่าน Link ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
>> https://itcert2005-online/promotion
รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตร
- ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับระบบปฏิบัติการ Linux รวมถึงประโยชน์การนำไปใช้ในการทำงานจริง (8:01)
- ตอนที่ 2 เริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux Server แบบ Step-by-Step (14:21)
- ตอนที่ 3 ทำความรู้จัก และ การใช้งาน Text Editor (VI) บนระบบ Linux Server (13:59)
- ตอนที่ 4 การใช้งาน Command Line พื้นฐานที่จำเป็น และ การใช้งาน TAR (13:14)
- ตอนที่ 5 การใช้งาน Command Line ที่เกี่ยวข้องกับการ เปิด-ปิด เครื่อง Linux Server (1:19)
- ตอนที่ 1 การจัดการ Harddisk บน Linux Server ด้วยการใช้ FDISK จัดการ Partition (21:02)
- ตอนที่ 2 เทคนิคการ Auto Mount Harddrive เมื่อเปิดเครื่อง และ การปรับเพิ่มข้อมูลใน FSTAB (5:47)
- ตอนที่ 3 ทำความเข้าใจการทำงานของ RAID การจัดตั้ง RAID 0 และ RAID 1 (16:43)
- ตอนที่ 4 ทำความเข้าใจการใช้งาน LVM การติดตั้ง และ การ Mount LVM (13:05)
- ตอนที่ 5 เทคนิคการขยายขนาดของ Partition ด้วยการใช้ LVM (4:28)
- ตอนที่ 6 เทคนิคการลดขนาดของ Partition ด้วยการใช้ LVM (3:09)
- ตอนที่ 7 เทคนิคการ Remove LVM ออกจากระบบ Linux Server (3:15)
- ตอนที่ 1 การจัดตั้ง NFS Service และ การปรับแต่งการแชร์ข้อมูลด้วย EXPORTS (7:03)
- ตอนที่ 2 การจัดตั้ง Windows 10 ให้เป็น NFS Client และ ปรับค่าให้สามารถใช้งานร่วมกับ NFS ได้ (4:45)
- ตอนที่ 3 การจัดตั้ง SAMBA Service เพื่อทำการแชร์พื้นที่ (11:33)
- ตอนที่ 4 เทคนิคการ Login เข้าใช้งาน SAMBA (5:42)
- ตอนที่ 5 เทคนิคการเพิ่ม Users เข้าระบบ SAMBA (2:00)
- ตอนที่ 6 การจัดตั้ง Time Service ด้วยการใช้ CHRONY (8:24)
- ตอนที่ 7 การจัดตั้ง Time Service ด้วยการใช้ CHRONY และ CRONTAB (9:25)
- ตอนที่ 1 การจัดตั้ง Web Server ด้วย HTTPD Service และ ทดสอบเขียน Web Page ด้วย BOOTSTRAP (12:14)
- ตอนที่ 2 การจัดตั้ง MariaDB Service และ การปรับแต่งโดยใช้ Command Line (6:27)
- ตอนที่ 3 การจัดตั้ง PHP และ การปรับแต่งให้ PHP, MariaDB และ HTTPD ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ (8:49)
- ตอนที่ 4 การติดตั้ง WordPress ในระบบ LAMP Stack (8:48)